สัปดาห์ที่สองของการสอนนักเรียนชั้นปีที่ 3 กลุ่มที่ 3
จริงๆแล้ววันนี้เป็นวันที่ 17 เดือน 11 แต่ผมบันทึกเรื่องนี้หลังจากวันที่ไปทำงานที่มหาวิทยาลัยวันกว่าๆ ซึ่งก็นับว่าไม่ได้ช้าหรือเร็วจนลืมนึกเรื่องที่จะบันทึก และที่สำคัญมันก็เป็นการเล่าเรื่องให้ตัวของผมเองเข้าใจและรับรู้ในสิ่งที่ทำไป ก็นับว่าดีและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาตัวเองไม่มากก็น้อย ในความเป็นจริงผมควรจะเขียนบันทึกให้เสร็จแล้วส่งเป็นต้นฉบับให้กับ art4d ได้แล้วแต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะเสร็จ เอาเป็นว่าเร็วๆนี้ละกันเนื่องจากทุกวันนี้ภาระกิจก็ท่วมตัวจนจัดเวลาให้ลงตัวยากเต็มทน ยังไงซะบันทึกของเทอมนี้ก็น่าจะเสร็จสมบูรณ์อัพเดทมากกว่าบันทึกของเทอมที่แล้วที่ยังคาราคาซังอยู่ เอาละกลับมาที่เรื่องของลูกศิษย์ผมบ้าง วันที่ 15 เป็นวันที่สองที่ของเทอมนี้ที่ผมเข้าไปบรรยายและสอนพิเศษ วิชา โมชั่นกราฟฟิกให้กับ นศ ปี 3 นิเทศศิลป์ หลังจากที่เทอมที่แล้วเข้าสอน ปี4 กับ ปี2 แต่ไม่ตรงกับ โมชั่นกราฟฟิกมากนัก จะมีก็ที่เอแบคที่ตรงกับวิชา เอาเป็นว่า แน่นอนว่าผมจะได้เจอกับลูกศิษย์ใหม่ๆและน้องรุ่นใหม่ที่เข้าใจว่าน่าจะสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะภาษาที่ผมใช้ในการสื่อสารบางครั้งก็อาจจะดูไม่ทิ้งจากภาษาที่พวกเค้าใช้ในการพูดคุยกันมากนัก นับว่าน่าสนใจที่เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจในวิชาที่ผมสอนไม่น้อย และการบรรยายวันแรกก็ผ่านไปด้วยดีมั้ง แต่เรื่องที่จะเข้าใจผมว่าคงต้องใช้เวลาเพราะวันแรกที่ผมบรรยายก็เป็นเพียงการแนะนำสิ่งที่ผมทำ และสิ่งที่นักออกแบบในสายอาชีพนี้ทำว่าตอนนี้เป็นยังไง แต่ก่อนมาแค่ไหน และต่อไปจะเป็นอย่างไร หลายๆคนให้ความสนใจและหลายๆคนพร้อมที่จะทำ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมเองอยากจะพูดต่อทางมหาวิทยาลัยว่า ถ้าได้เห็นความอยากที่นศ อยากทำแล้ว ผมว่าการให้โอกาสไม่พอแล้วสำหรับยุคนี้ แต่การสนับสนุนต่างหากที่พวกเค้าต้องการ ผมไปสอนได้และเต็มใจที่จะถ่ายทอด แต่ถ้าอุปกรณ์ไม่พร้อม น้องๆของผมหรือลูกศิษย์ของผมจะสร้างงานได้อย่างไร มันไม่ใช่ปัญหาโลกแตกแน่ๆว่าทำไมไม่มีเครื่องให้ใช้ทั้งๆที่จ่ายค่าเทอมไปแล้ว แต่มันเป็นปัญหาที่ทางผู้บริหารไม่มองมากกว่าดังนั้นลูกศิษย์ผม จะทำงานออกมาส่งผมได้อย่างไร คิดกันง่ายๆว่าลูกศฺษย์ผม มีเงิน มีไอเดีย มีพลัง และมีความต้องการที่จะทำแต่ไม่มีมือ พวกเค้าจะทำได้มั้ย บางอย่างต้องเข้าใจว่าโลกมันเปลี่ยนไป การศึกษาต้องตามให้ทัน ต่อให้คุณจ้าง นีล อาร์มสตรองมาสอนการเดินบนดวงจันทร์ แต่คุณไม่มีดวงจันทร์จำลองคุณนีล ก็คงสอนไม่ได้ ต่อให้คุณจ้างอาจารย์เท่งมาผัดกระเพรา แต่คุณไม่มีกระเพราแล้วมันจะเรียกผัดกระเพรามั้ยครับ ชิบหายอย่างยังยืน
วันแรกของการเรียนการสอนไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากไปกว่าการเห็นสายตาที่จดจ้องและความรู้สึกที่ต้องการอยากทำของพวกเด็กๆ นี่แหละครับคือสิ่งที่มีความสุขที่สุดสิ่งหนึ่งในโลก ผมเชื่อว่านักเรียนของผมก็เหมือนกับคนที่ได้ของเล่นชิ้นใหม่ ที่อยากลองอยากเล่น และผมเองก็สนุกที่ได้หยิบยื่นสิ่งใหม่ๆเหล่านี้ให้เค้า หลังจากหมดเวลาสิ่งที่ผมกังวลคือ พวกเค้าจะสนใจจริงมั้ย แล้วอาทิตย์ต่อไปผมจะสอนเค้าทำโปรแกรมได้ยังไงในเมื่อห้องแลปไม่มีให้ใช้ สุดท้ายมันต้องมีคนไม่ทำการบ้านแน่ๆ(แล้วจะต้องเป็นพวกที่บอกว่าอยากทำซะด้วย)
วันอังคารอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากเตรียมอะไรเรียบร้อยผมก็เริ่มบรรยายทันทีช่วงเวลาประมาณ 10.30 ได้ ที่ผมเริ่มเร็วและไม่รอเพราะว่าผมคิดว่าวันนี้จะต้องมีการคุยกันถึงเรื่องที่ว่า นศ ของผมว่าจะต้องพรีเซ้นอะไรบ้างและงาน+ไอเดียจะออกมายังไงแล้วงานมันจะหน้าตาเป็นแบบไหน เชื่อมั้ยว่าการฟังนศพรีเซ้นงานให้ผมฟังนั้นมันเป็นการทำให้เรารับรู้ว่าคนคนนี้จัดระเบียบกับตัวเองได้ดีแค่ไหน เพราะงานสายโมชั่นมันเป็นงานละเอียดและต้องจัดระเบียบทั้งในแง่วิธีคิดและการทำงานให้ดี ไม่งั้นก็จบกัน ซึ่งมีไม่น้อยที่เห็นแววว่าจะไปได้ไกล และก็มีอีกไม่น้อยที่เข้าใจว่ายังต้องจัดระเบียบตัวเองอีกพอสมควร แต่ผมก็ดีใจอยู่ลึกๆว่าเด็กกลุ่มนี้น่าจะไปได้สวยถ้าตั้งใจจริงๆ ผมเชื่อเสมอว่าการที่ได้คุยกันตัวต่อตัว ได้แลกเปลี่ยนวิธีคิดกันตัวต่อตัว มันย่อมที่จะสร้างประโยชน์ได้มากที่สุดต่อตัวเค้าเองและถ้าผมมีเวลาให้ได้ผมก็ยินดี แต่อย่างที่เห็นอยู่ว่าผมเองเทอมนี้มาแค่อาทิตย์ละ หนึ่งครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องทำอย่างที่ทำอยู่ถึงแม้จะถ่วงเวลาของเด็กคนอื่นก็ตามแต่ผมสัญญาว่าจะหาวิธีการใหม่ๆ การเรียนการสอนวิชาโมชั่นกราฟฟิกมันค่อนข้างจะใช้ความเข้าใจในหลายๆรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานออกแบบ เรื่องของหนัง เรื่องของเพลง เรื่องของเวลา และการสมมุติฐานที่บางทีมันเหมือนการคิดที่ล่องลอยว่าจะให้มันเคลื่อนแบบนั้น แบบนี้ แบบโน้น จึงมีหลายๆครั้งที่ผมพูดว่า แล้วยังไงละครับ ผมเข้าใจเด็กสมัยใหม่นะ แต่ไม่มีทางจะเข้าใจทั้งหมดก็ตาม แต่ลึกๆแล้วก็คิดว่าน่าจะตามเค้าทัน เรื่องนี้สำคัญที่เดียว เพราะถ้าผมไม่รู้ว่าเค้าฟังเพลงอะไร ไม่รู้ว่าชอบทำงานแบบไหน ไม่เค้าใจในศัพท์ที่เค้าพูด และไม่นำเสนอสิ่งที่เค้าไม่เคยเห็นแล้วละก็ ผมเชื่อเหลือเกินว่าเด็กๆจะเบื่อและไม่สนใจหรือสนใจน้อย ดังนั้นสิ่งที่ผมนำมาให้เค้าดู ไม่ว่าจะเป็นงานของผม งานของรุ่นใหญ่ หรืองานทดลอง หลายๆครั้งผมก็กลัวว่าเค้าอาจจะไม่สนใจซึ่งมันจะนำมาซึ่งความน่าเบื่อทางการศึกษาทันที แต่ผมคิดในมุมกลับกันว่าผมทำในสิ่งที่คิดว่าจะมาช่วยเปิดโลกทรรศน์ให้เค้า จะรับหรือไม่รับก็แล้วแต่ งานออกแบบจริงๆแล้วเป็นเรื่องที่สอนกันไม่ได้หรอก ถ้าจะให้ผมพูดผมว่ามันเหมือนเราคุยกันมากกว่า
วันแรกของการเรียนการสอนไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากไปกว่าการเห็นสายตาที่จดจ้องและความรู้สึกที่ต้องการอยากทำของพวกเด็กๆ นี่แหละครับคือสิ่งที่มีความสุขที่สุดสิ่งหนึ่งในโลก ผมเชื่อว่านักเรียนของผมก็เหมือนกับคนที่ได้ของเล่นชิ้นใหม่ ที่อยากลองอยากเล่น และผมเองก็สนุกที่ได้หยิบยื่นสิ่งใหม่ๆเหล่านี้ให้เค้า หลังจากหมดเวลาสิ่งที่ผมกังวลคือ พวกเค้าจะสนใจจริงมั้ย แล้วอาทิตย์ต่อไปผมจะสอนเค้าทำโปรแกรมได้ยังไงในเมื่อห้องแลปไม่มีให้ใช้ สุดท้ายมันต้องมีคนไม่ทำการบ้านแน่ๆ(แล้วจะต้องเป็นพวกที่บอกว่าอยากทำซะด้วย)
วันอังคารอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากเตรียมอะไรเรียบร้อยผมก็เริ่มบรรยายทันทีช่วงเวลาประมาณ 10.30 ได้ ที่ผมเริ่มเร็วและไม่รอเพราะว่าผมคิดว่าวันนี้จะต้องมีการคุยกันถึงเรื่องที่ว่า นศ ของผมว่าจะต้องพรีเซ้นอะไรบ้างและงาน+ไอเดียจะออกมายังไงแล้วงานมันจะหน้าตาเป็นแบบไหน เชื่อมั้ยว่าการฟังนศพรีเซ้นงานให้ผมฟังนั้นมันเป็นการทำให้เรารับรู้ว่าคนคนนี้จัดระเบียบกับตัวเองได้ดีแค่ไหน เพราะงานสายโมชั่นมันเป็นงานละเอียดและต้องจัดระเบียบทั้งในแง่วิธีคิดและการทำงานให้ดี ไม่งั้นก็จบกัน ซึ่งมีไม่น้อยที่เห็นแววว่าจะไปได้ไกล และก็มีอีกไม่น้อยที่เข้าใจว่ายังต้องจัดระเบียบตัวเองอีกพอสมควร แต่ผมก็ดีใจอยู่ลึกๆว่าเด็กกลุ่มนี้น่าจะไปได้สวยถ้าตั้งใจจริงๆ ผมเชื่อเสมอว่าการที่ได้คุยกันตัวต่อตัว ได้แลกเปลี่ยนวิธีคิดกันตัวต่อตัว มันย่อมที่จะสร้างประโยชน์ได้มากที่สุดต่อตัวเค้าเองและถ้าผมมีเวลาให้ได้ผมก็ยินดี แต่อย่างที่เห็นอยู่ว่าผมเองเทอมนี้มาแค่อาทิตย์ละ หนึ่งครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องทำอย่างที่ทำอยู่ถึงแม้จะถ่วงเวลาของเด็กคนอื่นก็ตามแต่ผมสัญญาว่าจะหาวิธีการใหม่ๆ การเรียนการสอนวิชาโมชั่นกราฟฟิกมันค่อนข้างจะใช้ความเข้าใจในหลายๆรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานออกแบบ เรื่องของหนัง เรื่องของเพลง เรื่องของเวลา และการสมมุติฐานที่บางทีมันเหมือนการคิดที่ล่องลอยว่าจะให้มันเคลื่อนแบบนั้น แบบนี้ แบบโน้น จึงมีหลายๆครั้งที่ผมพูดว่า แล้วยังไงละครับ ผมเข้าใจเด็กสมัยใหม่นะ แต่ไม่มีทางจะเข้าใจทั้งหมดก็ตาม แต่ลึกๆแล้วก็คิดว่าน่าจะตามเค้าทัน เรื่องนี้สำคัญที่เดียว เพราะถ้าผมไม่รู้ว่าเค้าฟังเพลงอะไร ไม่รู้ว่าชอบทำงานแบบไหน ไม่เค้าใจในศัพท์ที่เค้าพูด และไม่นำเสนอสิ่งที่เค้าไม่เคยเห็นแล้วละก็ ผมเชื่อเหลือเกินว่าเด็กๆจะเบื่อและไม่สนใจหรือสนใจน้อย ดังนั้นสิ่งที่ผมนำมาให้เค้าดู ไม่ว่าจะเป็นงานของผม งานของรุ่นใหญ่ หรืองานทดลอง หลายๆครั้งผมก็กลัวว่าเค้าอาจจะไม่สนใจซึ่งมันจะนำมาซึ่งความน่าเบื่อทางการศึกษาทันที แต่ผมคิดในมุมกลับกันว่าผมทำในสิ่งที่คิดว่าจะมาช่วยเปิดโลกทรรศน์ให้เค้า จะรับหรือไม่รับก็แล้วแต่ งานออกแบบจริงๆแล้วเป็นเรื่องที่สอนกันไม่ได้หรอก ถ้าจะให้ผมพูดผมว่ามันเหมือนเราคุยกันมากกว่า
0 Comments:
Post a Comment
<< Home